นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สัมมนา แนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน GIS (Next Generation GIS Software Development) โดยเชิญ นายกตัญญู กลับสุวรรณ ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงสมรรถนะนักซอฟต์แวร์ไทย การพัฒนา Technology of 3D Video GIS Demo ความสามารถของ Software ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการทำ GIS ยังเป็นในรูปของ 2D (สองมิติ) อยู่ และโปรแกรมที่นิยมใช้ในประเทศไทยในการทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือ โปรแกรม ArcView ที่แสดงภาพเป็นจุดในแผนที่ เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งหรือพิกัดต่างๆ แต่เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกัน เกิดสิ่งที่แปลกใหม่ ถูกต้องและแเม่นยำขึ้นมากกว่าเดิม ที่เรียกกว่า GIS 3D ดังกล่าวนี้จึงจัดอบรมขึ้นเพื่อให้อาจารย์ นักศึกษา ได้มีความเข้าใจสามารถนำไปพัฒนางาน GIS ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2552 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
นายธนกฤต จันทร์แสง อาจารย์โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ กล่าวให้ความเห็นว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS ) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data ) และสารสนเทศ (Information) เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ในรูปของตารางข้อมูล แษาและการค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่ายข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ ( Geocode ) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์ ) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกันละฐานข้อมูลระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม