ทางรัฐบาลได้ทำการกำหนดยุทธศาสตร์ให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก โดยส่งเสริมให้มีการสร้างท่าเทียบเรือสำราญ หรือเรือยอร์ช ทำให้ขณะนี้จังหวัดภูเก็ตมีขีดความสามารถรองรับเรือยอร์ชได้แล้วกว่า 1,000 ลำต่อปี จากจำนวน 5 ท่าเทียบเรือ โดยเป็นท่าเทียบเรือของเอกชน 4 ท่า และของรัฐบาล 1 ท่า ประกอบด้วย

ท่าเทียบเรือยอร์ช เฮเว่น มาีรีน่า ภูเก็ต สามารถรองรับเรือได้ประมาณ 168 ลำ
ท่าเทียบเรือ รอยัลภูเก็ต มารีน่า สามารถรองรับเรือได้ประมาณ 150 ลำ

ท่าเทียบเรือ โบ๊ทลากูน รองรับเรือได้ 283 ลำ (บนบก 116 ลำ ในน้ำ 167 ลำ)
ท่าเทียบเรืออ่าวปอ แกรนด์ มารีน่า สามารถรองรับเรือได้ 200 ลำ
ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือของรัฐบาล โดยสามารถรองรับเรือได้จำนวน 100 ลำ
นอกจากนั้นยังมี มารีน่าที่อยู่ระหว่างการขออนุญาต คือ ท่าเทียบเรือมารีน่า ของบริษัท เดอะยามู จำกัด บริเวณแหลมยามู หมู่ 7 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง ซึ่งมีปัญหาการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอดเป็นเวลาหลายปี ทำให้ทางจังหวัดภูเก็ตได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มีมติให้คณะกรรมการพิจารณารายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น จังหวัดภูเก็ต พิจารณาทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นใหม่ โดยให้เพิ่มประเด็นคุณค่าชีวิต และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความชัดเจนก่อน
ขอถามเพียงคำเดียว สร้างท่าเรือมารีน่า ใครจะรวยจากการมีมารีน่า ขอย้ำ ใครจะรวยจากการมีมารีน่า.
คนที่รวยมีดังนี้
1. รัฐบาลได้จากการเก็บภาษี มาพัฒนาประเทศ
2. องค์กรปกครองท้องถิ่น ได้เงินภาษีมาพัฒนาชุมชน
3. พนักงานมีเงินเดือนเลี้ยงครอบครับ
4. ภาคธุรกิจเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวได้รายได้มาเลี้ยงตัว
5. คนบริเวณมารีนาได้รับสาธารณูปโภคที่ดีขึ้น ได้โอกาส เพราะต้องมีัการพัฒนาพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อรองรับมารีน่า เมื่อสาธารณูปโภคดีขึ้นก็ย่อมมีโอกาสสร้างสรรธุรกิจให้ร่ำรวยขึ้นมาได้
6. เจ้าของที่ดินบริเวณมารีน่า เพราะราคาที่ดินบริเวณนั้นย่อมสูงขึ้น ขายย่อมได้ราคาดี
7. ห้างร้านที่อยู่บริเวณมารีน่า สามารถสร้างธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับมารีน่าได้
8. ธุรกิจภาคการก่อสร้าง รวมถึงคนขายแรงงาน มีเงินใช้ เพราะการสร้างมารีน่าย่อมจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานเหล่านี้
9. เจ้าของมารีน่า รวยจากรายได้ในการจอดเรือ แต่อย่าลืมว่าเขาก็ต้องลงทุนสูงดังนั้น การคืนทุนไม่ใช่จะรวยภายในปีเดียวอย่างแน่นอน
สุดท้ายคนที่ไม่รวยมีคนเดียว คือ คนที่งอมืองอเท้าไม่ทำอะไรเลย
ลืมอีกคนที่จะรวยคือคนซ่อมและดูแลเรือ ส่วนเจ้ามารีน่าของนอกจากจะมีโอกาสรวยแล้ว ยังเป็นคนเดียวที่มีโอกาสจนด้วย เพราะถ้าขาดทุนจะรับไปคนเดียวเต็มๆ
อืม ตอบได้กระ่จ่างแจ้ง ค่ะ
ริมชายหาด และ อาณาเขตในทะเล ล้วนเป็น สาธารณะสมบัติ ไม่มีใครสามารถครองกรรมสิทธิ์
หากไม่ใช่หน่วยงานราชการ ล้วนไม่ชอบด้วยกฏหมายทั้งสิ้น
ผมว่ามารีน่ายังไงเขาก็ยังต้องจ่ายผลประโยชน์ให้ัรัฐนะ แต่กับชายหาดนี่สิ บางหาดเข้าไปไม่ได้เลย เผลอๆโดน รปภ. ไล่ออกมาด้วยซ้ำ
Pingback: การขออนุญาตจอดเรือยอร์ชที่ภูเก็ต - ข่าว สกู๊ป เรื่องราว จังหวัดภูเก็ต
ท่าเทียบเรือสามารถตกปลาได้ไหมครับ