คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเตรียมตัวอย่างและเทคนิคการวิเคราะห์ตัวอย่างทางอาหาร สิ่งแวดล้อม และทางชีวภาพ : สำหรับนักวิจัย อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์” สำหรับ เนื้อหาในการฝึกอบรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในวันที่ 27 และ 28 ตุลาคม เป็นการสัมมนา ซึ่งประกอบด้วยการบรรยายโดยวิทยากร หลักจากนั้นเป็นการอภิปรายซักถาม และการสาธิตการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ส่วนวันที่ 29 ตุลาคม เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer ในการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร สิ่งแวดล้อม และชีวภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาและฝึกอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษา จำนวน 40 คน เข้าร่วม มี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดี เป็นประธานเปิดงาน
มีนายศุภวุฒิ ศิริเกษ กล่าวรายงาน การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.นพพร ทัศนา มาให้ความรู้ในหัวข้อทฤษฎี และหลักการเตรียมตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิค Microwave ทฤษฎีและหลักการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค UV-Visible Spectrophoptometry และอาจารย์จำนง หัยกิจโกศล ให้ความรู้เรื่อง ทฤษฏีและหลักการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Atomic Absorption Spectrophoptometry ดร.ณรงค์ เล่งฮ้อ ให้ความรู้เรื่องทฤษฏีและหลักการวิเคราะห์ตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิค Flow Injection Analysis การสาธิตการประยุกต์ใช้เครื่องมือ
สำหรับวิเคราะห์ตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติการย่อยตัวอย่างดินหรือดินตะกอนด้วยเครื่อง Microwave และคุณรพีพร ภู่รัตน์ ให้ความรู้เรื่องเทคนิค และข้อควรระวังในการวิเคราะห์โลหะหนักด้วยเครื่อง AAS ฯลฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
นายศุภวุฒิ กล่าวว่า “การสัมมนาและฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนานักวิจัย อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ให้สามารถตรวจวิเคราะห์และทดสอบตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง ตามข้อกำหนดมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ประการที่สองเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการวิเคราะห์และ ทดสอบในภูมิภาคให้เข้มแข็ง และประการสุดท้ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ของผู้เข้าอบรมที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้มีการเสริมสร้างความรู้ทั้งในส่วนของทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เพื่อเสริมศักยภาพแก่ผู้เข้าร่วมอบรมให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น”
ด้าน ผศ.ดร.ประภา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ (Analytical Science) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากในแทบทุกวงการ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และสิ่งที่สำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ไม่ว่าเราจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยหรือมี ราคาแพงสักเพียงใดก็ตาม หากไม่มีผู้ที่มาทำหน้าที่ Operate เครื่องมือให้สามารถทำงานได้ตามขีดความสามารถของเครื่องมือแล้ว ก็ไม่อาจใช้เครื่องมือเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้วยความร่วมของบริษัท ไทยยูนีค จำกัด จึงได้จัดให้มีการสัมมนาและฝึกอบรมหลักสูตร “การเตรียมตัวอย่างและเทคนิคการวิเคราะห์ตัวอย่างทางอาหารสิ่งแวดล้อม และทางชีวภาพ : สำหรับนักวิจัย อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์” ขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่ง อันดามัน มีพันธกิจที่สำคัญ นอกจากผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมเพื่อรับใช้สังคมแล้ว ยังต้องวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้เป็นฐานปัญญาแห่งอันดามัน ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่น และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย อธิการบดีกล่าว