จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการรับสมัครนักเรียนในโครงการรับนักเรียนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปกติ (โครงการจุฬาฯ-ชนบท) ปีการศึกษา 2553 ตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษา ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยวิธีตรง พ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดวิธีการรับสมัครและคัดเลือก ดังต่อไปนี้
คุณสมบัติผู้สมัคร
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่สำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและรับรองต่อมหาวิทยาลัยว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
- เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาและศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐ หรือโรงเรียนที่คณะกรรมการดำเนินการรับนักเรียนจากชนบทเพื่อเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โครงการจุฬาฯ-ชนบท) เห็นควร ในเขตจังหวัดตามที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีติดต่อกันนับจนถึงวันสมัคร โดยกำหนดเขตพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการจุฬาฯ-ชนบทเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
- เขตพื้นที่ปกติ
เขต ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง อุทัยธานี และพระนครศรีอยุธยา
เขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย
ตาก และอุตรดิตถ์เขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น สกลนคร หนองคาย เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
เขตภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
และสระแก้ว- เขตพื้นที่พิเศษ
จังหวัด ตรัง และจังหวัดน่าน (ซึ่งเป็นจังหวัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง)
จังหวัดเชียงใหม่ เฉพาะอำเภอแม่ริม (ซึ่งเป็นที่ตั้งพระตำหนักดาราภิรมย์ อันเป็นหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552
- เป็นผู้ที่มีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5 ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะต้อง ได้คะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชา / กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับการเลือกสมัครเข้าศึกษาแต่ละคณะดังนี้
- ผู้สมัครคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.00 กลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาอื่นๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00
- ผู้สมัครคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3.00 วิชาฟิสิกส์ไม่ต่ำกว่า 3.00 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.00 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00
- ผู้สมัครคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00
- ผู้สมัครคณะรัฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาภาษาไทยไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาสังคมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 ถ้าศึกษาเน้นหนักด้านคำนวณจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำ กว่า 2.75 หรือถ้าศึกษาเน้นหนักด้านภาษาจะต้องได้คะแนนกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศไม่ต่ำ กว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00
โดยให้นายทะเบียนโรงเรียนคำนวณผลคะแนนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มวิชาลงในใบสมัคร และใบแสดงผลการศึกษา / ปพ.1 ที่ ใช้เพื่อการสมัครและลงนามรับรอง เพื่อเป็นการยืนยันประกอบการสมัครด้วย กรณีที่โรงเรียนมีนักเรียนที่ฐานะครอบครัวยากจน แต่ขาดคุณสมบัติข้อนี้เพียงเล็กน้อยให้ติดต่อหน่วยจุฬาฯ-ชนบท
- เป็นผู้ที่มีฐานะครอบครัวยากจน บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไม่สามารถสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ และขาดผู้อุปการะ
- เป็นผู้มีอุดมการณ์ที่จะทำงานในชนบทด้วยความเสียสละ
- เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และต้องไม่อยู่ในเพศบรรพชิต นักบวช นักพรต หรือมีข้อผูกมัดอยู่กับการรับทุนการศึกษาอื่น หากปรากฎในภายหลังว่า ผู้สมัครขาดคุณสมบัติในข้อใดข้อหนึ่ง หรือตรวจสอบพบในภายหลังว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้ในใบสมัครเป็นเท็จ หรือหลักฐานประกอบการสมัครเป็นเอกสารเท็จหรือปลอม ผู้สมัครจะถูกเพิกถอนสิทธิ์ในการรับการคัดเลือกครั้งนี้ แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัครหรือได้ผ่านการคัดเลือกแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผู้สมัครยังอาจถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายด้วย
คณะที่เปิดรับเข้าศึกษา จำนวน 12 คณะ โดยกำหนดให้เลือกสมัครได้เพียงหนึ่งคณะ ดังนี้
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ รับประมาณ 10 คน
- คณะทันตแพทยศาสตร์ รับประมาณ 10 คน
- คณะเภสัชศาสตร์ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม รับประมาณ 10 คน
- คณะสหเวชศาสตร์ เปิดรับ 3 สาขาวิชา (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)
- สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 15 คน
- สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 6 คน
- สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 3 คน
- สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา รับประมาณ 10 คน
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ รับประมาณ 5 คน
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เปิดรับ 3 สาขาวิชา (ระบุสาขาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)
- สาขาวิชาสถิติ รับประมาณ 2 คน
- สาขาวิชาการบัญชี รับประมาณ 2 คน
- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ รับประมาณ 3 คน
- คณะเศรษฐศาสตร์ รับประมาณ 10 คน
- คณะรัฐศาสตร์ เปิดรับ 4 สาขาวิชา (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ รับประมาณ 2 คน
- สาขาวิชาการปกครอง รับประมาณ 2 คน
- สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รับประมาณ 2 คน
- สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รับประมาณ 2 คน
- คณะนิติศาสตร์ รับประมาณ 4 คน (ระบุรูปแบบที่เลือกสอบ)
- คณะนิเทศศาสตร์ รับประมาณ 4 คน
- คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับ 2 สาขาวิชา (ระบุสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาลงในใบสมัคร)
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์ รับประมาณ 3 คน
- สาขาวิชาสารนิเทศศึกษา รับประมาณ 2 คน
จำนวนทุนการศึกษา 107 ทุน ทั้งนี้ อาจรับได้ไม่ครบตามจำนวน หากผู้สมัครมีคุณสมบัติต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามประกาศฯ
การรับสมัครและหลักฐานประกอบการสมัคร
- ให้ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยจุฬาฯ-ชนบท www.rural.chula.ac.th หรือที่เว็บไซต์www.admissions.chula.ac.th
- ผู้สมัครจะต้องส่งมอบใบสมัครพร้อมหลักฐานฯ ให้คณะกรรมการของโรงเรียนตรวจสอบ โดยใบสมัครที่ไม่ผ่านการตรวจสอบลงนามรับรองจากคณะกรรมการของโรงเรียนจะไม่ได้รับการพิจารณาผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลใบสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน แผนที่บ้านชัดเจน ติดรูปผู้สมัครตามที่กำหนดในใบสมัคร 1 ที่ บัตรประจำตัวผู้สมัคร 1 ที่ (รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ เป็นรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกและ แว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน) โดยให้ศึกษารายละเอียดในคำแนะนำการสมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบท หลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่
- ใบแสดงผลการศึกษา / ปพ.1 ที่ โรงเรียนออกให้ผู้สมัครใช้เพื่อการสมัคร
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน
- เอกสารแสดงการสมัครสอบ GAT/PAT ที่ สทศ.จัดสอบครั้งที่ 1/2552 และหรือ 2/2552
- หนังสือรับรองเงินเดือนบิดา/มารดา/ผู้ปกครอง (กรณีที่มีรายได้ประจำ)
- และเอกสารอื่น ๆ พร้อมกับลงนามรับรองเอกสารทุกฉบับ
- ขอให้โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกนักเรียนผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศข้อ 1 โดยให้แต่ละโรงเรียนส่งนักเรียนสมัครได้ไม่เกิน 12 คน ทั้งนี้ หน่วยจุฬาฯ-ชนบทสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับพิจารณาใบสมัครทั้งหมดหากโรงเรียนส่งมาเกินกว่าที่กำหนด
- ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานฯ ให้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียว ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2552 (โดยจะถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสุดท้ายของการสมัคร) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนที่“โครงการรับตรง ปีการศึกษา 2553”
(โครงการจุฬาฯ-ชนบท)
ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ถนนพญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 - ผู้สมัครจะต้องสมัครสอบ GAT/PAT ที่สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดสอบครั้งที่ 1/2552 และหรือ ครั้งที่ 2/2552 และต้องสอบรายวิชาให้ถูกต้องครบถ้วนตรงกับคณะ/สาขาวิชาที่สมัครตามที่กำหนดด้วย โดยจะใช้ผลคะแนนสอบสูงสุดที่ผู้สมัครทำได้
- ผู้สมัครต้องสมัครทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาฯ ด้วย โดยให้ศึกษารายละเอียดและปฏิบัติตามขั้นตอนการสมัครให้ถูกต้องที่เว็บไซต์ http://www.atc.chula.ac.th โทรศัพท์ 0 2218 3704-6 โทรสาร 0 2218 3700 พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมการสมัครตามที่กำหนดเป็นเงินจำนวน 200 บาท (สองร้อยบาทถ้วน) โดยจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการสมัคร ไม่ว่ากรณีใดๆ
ที่มา: เว็บไซต์หน่วยจุฬา-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.rural.chula.ac.th