WHOหนุนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคชิคุนกุนยาระบาด

วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมภูเก็ตแกรซแลนด์ รีสอร์ท แอนสปา จังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Technical consultationg on Re-emergence of Chikungunya Fever ซึ่งกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมกับองค์การอนามัยโลก ( SEARO/WHO) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-28 ส.ค. 2552 โดย มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการวิจัย การตรวจรักษา การควบคุมโรค ทั้งของไทยและขององค์การอนามัยโลก และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ เข้าร่วม

นายแพทย์ประพนธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวยังมีอยู่ โดยชนิดเชื่อโรคที่แพร่ระบาดเป็นสายพันธ์ East Central Alrican จนกลายพันธุ์สามารถก่อความรุนแรงได้มากกว่าสายพันธุ์ Asis ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ขณะ นี้ไทยยังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโรคดังกล่าวเพียงพอ เช่น ตัวเชื้อโรค อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา พาหะ ฯลฯ และเพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการดังกล่าวขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก

การ ประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มีองค์ความรู้ในเรื่องของการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งในแถบภูมิภาคแอฟริกา และเอเชีย ซึ่งจัดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ หรือประเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การแพร่ระบาดและควบคุมโรคนี้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามจากการเฝ้าระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยาทั่วประเทศของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคา 2552 ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 พบมีผู้ป่วยสะสม 38,275 ราย ใน 51 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยจังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยจำนวน 7,780 ราย รองลงมาคือจังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วย 2,744 ราย

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.