สารสเตียรอยด์ เป็นสารที่ถูกกล่าวอ้างถึงในแวดวงสุขภาพและการแพทย์บ่อยครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเสนอข้อมูลในด้านโทษของสารตัวนี้ แต่ข้อเท็จจริงนั้น สเตียรอยด์มีประโยชน์อีกมากมายที่ท่านอาจยังไม่ทราบ
สเตียรอยด์ เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex steroids) สำหรับสเตียรอยด์ที่ใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค รวมถึงใช้ทดแทนในกรณีที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนดังกล่าวได้ สเตียรอยด์ที่ถูกสร้างขึ้นมีหลักๆ 2 ชนิด คือ Cortisol และ Aldosterone ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นี้ กฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น สำหรับสเตียรอยด์ หากนำมาใช้อย่างถูกตามหลักวิชาการจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก สเตียรอยด์ที่นำมาใช้ทางการแพทย์เพื่อประโยชน์ในการรักษา
ยากลุ่มสเตียรอยด์
Hydrocortisone Prednisolone Triamcinolone
Fluocinolone Betamethasone Clobetasol
Desoximetasone Prednicarbate Mometasone
Beclomethasone Budesonide Dexamethasone
ถ้าสังเกตจากชื่อยาจะเห็นว่า มักลงท้ายด้วย -one หรือ -ol เสมอ ยกเว้นบางตัว ดังนั้นจึงพอใช้เป็นข้อสังเกตว่ายาตัวไหนเป็นสเตียรอยด์หรือไม่
ประโยชน์
- ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
- ข้ออักเสบ เฉพาะที่รุนแรง ควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน หรือ ฉีดเข้าข้อโดยตรง
- หัวใจอักเสบรูมาติกโรคไต บางชนิด เช่น Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome ,etc.
- โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด เช่น Polymyositis, Polyarteritis nodusa, systemic lupus erythematosus (SLE)
- โรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เช่น หอบ หืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปการพ่น สเปรย์ แต่ในรายรุนแรงก็จะให้กิน หรือฉีด
- โรคตา ในรูปหยอด หรือป้ายตา เช่น โรคเส้นประสาทตาอักเสบ
- โรคผิวหนัง ให้ในรูปยาทาเฉพาะที่ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ในรูปแบบต่างๆ
- โรคทางเดินอาหารบางชนิด ที่ไม่ใช่โรคแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ Ulcerative colitis , Crohn’s disease
- โรคตับบางชนิด เช่น Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active Hepatitis, ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา
- โรคมะเร็ง ในโรค Lymphoblastic Leukemia มะเร็งเต้านม
- ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง
- ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
- โรคโลหิตจางบางชนิด ได้แก่ Immunohemolytic anemia
- การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น
โทษ
- ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต ห้ามหยุดยาอย่างทันที หลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน
- เกิดลักษณะของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ ที่เรียกว่า Cushing’s Syndrome คือ มีอาการบวม ท้องลาย สิว ผิวเข้มขึ้น ความดันโลหิตสูง อ่อนแรง เพลีย ขนขึ้นตามตัว ฯลฯ
- ติดเชื้อง่ายขึ้น เพราะยากดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค
- กดการเจริญเติบโตในเด็ก
- เกิดความดันโลหิตสูง ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังบางลีบ
- เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะกระดูกพรุน
- ความดันในลูกตาเพิ่มทำให้เป็นต้อหิน
- เลนส์กระจกตาขุ่น เกิดต้อกระจก
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงง่าย
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารระคายเคือง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- เกิดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น
- ถ้าใช้ยามานาน แล้วหยุดยาทันทีเกิดอาการถอนยา ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนล้า ปวดศรีษะ มีไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักตัวลดลง ความดันโลหิตต่ำ
- รบกวนผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เช่น กดผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
- อื่นๆ ได้แก่ แผลหายช้า เกิดห้อเลือด ฟกช้ำง่าย มีไขมันสะสมมากที่ตับ ตับอ่อนอักเสบ มีขนขึ้นมาก ประจำเดือนผิดปกติ หรืออาจไม่มีประจำเดือน ลดความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย