ชาวบ้านตำบลรัษฎาร่วมสืบสานประเพณีลากพระช่วงวันออกพรรษา

ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (5 ตุลาคม 52) ชาวบ้านตำบลรัษฎา อ. เมือง จ. ภูเก็ต กว่า 200 คน ได้ร่วมงานประเพณีตักบาตรเทโว และงานประเพณีลากพระ เนื่องในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ที่ วัดเกาะสิเหร่ ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยได้ร่วมกันลากพระรอบตัวเมืองภูเก็ตผ่านเส้นทางตลาดเกษตร สี่แยกบางเหนียว ผ่านวงเวียนหอนาฬิกา ตลาดสด ถนนรัษฎา ถนนดีบุก และหยุดที่วัดมงคลนิมิตร

โดยเมื่อเวลา 07.00 น.ประชาชนได้นำข้าวสารอาหารแห้ง รวมทั้งผลไม้ และอาหารคาวหวานต่างๆ ไปทำบุญตักบาตรเทโว ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งงานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้แก่ชาวบ้านอย่างมาก เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ลด ละ เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี

หลังจากนั้น เวลา 07.49 น.ประชาชนที่มาร่วมทำบุญกันที่วัด ก็พร้อมใจกันลากพระแห่ไปรอบตัวเมืองภูเก็ต เพื่อไปยังจุดศูนย์รวมที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และในวันรุ่งขึ้น แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ก็จะลากพระกลับวัด ซึ่งประเพณีการลากพระของจังหวัดภูเก็ต ประชาชนที่ร่วมกันลากพระทั้งชาย และหญิง ร่วมร้องรำ ไปตามจังหวะดนตรี โดยใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง

ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า “เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก” นมพระ(พนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก) จึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร

ประเพณีลากพระเป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย

โดยเมื่อเวลา 07.00 น. ประชาชนได้นำข้าวสารอาหารแห้ง รวมทั้งผลไม้ และอาหารคาวหวานต่างๆ ไปทำบุญตักบาตรเทโว ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลก โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งงานตักบาตรเทโวเป็นงานที่ช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคี ให้แก่ชาวบ้านอย่างมาก เป็นเครื่องควบคุมสังคมให้ ลด ละ เลิกอบายมุข หันหน้าเข้าวัดเพื่อทำบุญ จึงมีส่วนช่วยให้สังคมเกิดสันติสุขเป็นอย่างดี

หลังจากนั้น เวลา 07.49 น.ประชาชนที่มาร่วมทำบุญกันที่วัด ก็พร้อมใจกันลากพระแห่ไปรอบตัวเมืองภูเก็ต เพื่อไปยังจุดศูนย์รวมที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และในวันรุ่งขึ้น แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ก็จะลากพระกลับวัด ซึ่งประเพณีการลากพระของจังหวัดภูเก็ต ประชาชนที่ร่วมกันลากพระ ทั้งชาย และหญิง ร่วมร้องรำ ไปตามจังหวะดนตรี โดยใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง

ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า “เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก” นมพระ(พนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก) จึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร

ประเพณีลากพระเป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.