3 สิ่งที่ชาวช่างต้องรู้เกี่ยวกับใบตัดเหล็ก

3 สิ่งที่ชาวช่างต้องรู้เกี่ยวกับใบตัดเหล็ก

หากใครที่ทำงานช่างเป็นประจำคงจะรู้จักกับ “ใบตัดเหล็ก” กันเป็นอย่างดี โดยหน้าที่หลักของอุปกรณ์ดังกล่าวได้แก่การใช้งานเพื่อตัดโลหะประเภทต่างๆ ถึงแม้ว่าหลายคนในที่นี้อาจจะเข้าใจวิธีการทำงานของเครื่องตัดเหล็กกันอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามทุกคนรู้ไหมว่าเครื่องมือชิ้นนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เรามักจะมองข้ามหรือไม่เคยรู้มาก่อนซ่อนอยู่ ซึ่งต้องบอกกันตรงนี้เลยว่า หากเราเข้าใจทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบตัดเหล็กแบบถี่ถ้วนแล้ว แน่นอนว่าเราย่อมสามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นดังกล่าวให้เต็มประสิทธิภาพได้มากยิ่งกว่าที่เคย เกริ่นกันมาแบบนี้หลายคนคงอยากจะรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะว่าเจ้าเครื่องมือที่เราจับกันทุกวันนั้นจะมีทีเด็ดแบบไหนบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว อย่ามัวรีรอ รีบตามไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลย

ความหนาของใบตัดให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป

ปกติแล้วใบตัดเหล็กสามารถแบ่งออกเป็น 7 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ 4 นิ้ว 5 นิ้ว 6 นิ้ว 7นิ้ว 12นิ้ว 14นิ้ว และ 16 นิ้ว โดยแต่ละขนาดล้วนแล้วแต่มีฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของงานว่ามีสเกลใหญ่มากน้อยแค่ไหน นอกเหนือไปจากเรื่องของขนาดแล้ว ความหนาของใบตัดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าสนใจไม่แพ้กัน สำหรับใครที่วางแผนจะตัดงานแบบเร็วๆ ใช้เวลาไม่นาน ความหนาของใบตัดที่เหมาะสำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ 0.8 mm หรือหากใครที่ต้องการทั้งความเร็วและความทนทานในเวลาเดียวกัน ใบตัด 1.0 mm นับว่าเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุด

ใบตัดแต่ละแบบใช้วัสดุในการผลิตที่ไม่เหมือนกัน

ทุกคนรู้ไหมว่าจริงๆ แล้วใบตัดแต่ละแผ่นนั้นมักทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความต่างที่ว่านี้ก็ทำให้ใบตัดเหล็กมีคุณสมบัติในการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน เช่น ใบตัดที่ทำมาจากอะลูมิเนียมจะเหมาสำหรับการตัดเหล็กและสเตนเลส และใบตัดเซอร์มิเนียมและอะลูมิเนียมออกไซด์เหมาะสำหรับการตัดสังกะสี เป็นต้น โดยเราสามารถดูได้ว่าใบตัดที่เราเลือกนั้นทำมาจากวัสดุประเภทไหนด้วยการสังเกตตัวอักษรภาษาอังกฤษบนฉลาก เช่น A = อะลูมิเนียม และ ZA= เซอร์มิเนียมและอะลูมิเนียมออกไซด์ ฯลฯ

รหัสบนใบตัดมีความหมายมากกว่าที่คิด

สำหรับใครที่ชอบสังเกตคงจะเห็นได้ว่าบนใบตัดเหล็กมักมีการระบุโค้ดที่เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษสลับกับตัวเลขเอาไว้ถึง 8 หลักด้วยกัน ซึ่งรหัสเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อธิบายคุณสมบัติของใบตัด โดยแถวแรกจะแจ้งว่าใบตัดทำมาจากวัสดุแบบไหน เช่น A = อะลูมิเนียม เป็นต้น, ส่วนแถวที่ 2 จะเป็นเบอร์ทราย ในขณะที่เบอร์ 3, 4, 5 จะเป็นการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับความแข็ง, ประเภทของกาวที่ใช้เชื่อมใบตัด และโครงสร้างใบตัด ตามลำดับ

เป็นยังไงกันบ้างกับรายละเอียดเกี่ยวกับใบตัดเหล็กที่เราเอามาฝากกันในวันนี้ น่าสนใจกันไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ สุดท้ายนี้เราอยากจะบอกทุกคนว่า เนื่องจากงานช่างทุกประเภทจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง ดังนั้นทางที่ดีควรสวมใส่ถุงมือและหน้ากากทุกครั้งก่อนเริ่มทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

Photos and Web Content by Primal Co., Ltd.

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.