องค์ประกอบของอาหารในจานหรือการจัดจานในการถ่ายภาพ หรือที่เรียกว่า Stylish ผู้จัด food stylist จะต้องจัดอาหารให้ดูน่ารับประทานและสวยงาม ภาพถ่ายอาหารที่สวย งามนั้นไม่ได้อยู่ที่เทคนิคการถ่ายภาพเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องดูที่การจัดองค์ประกอบ และรูปแบบในการจัดวางอาหารลงบนจานของอาหารแต่ละประเภท และควรมีความรู้ความเข้าใจในการทำอาหารชนิดนั้นๆ อยู่บ้างพอสังเขป และองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
- สีของอาหารชนิดนั้นๆ และการเลือกใช้สีของภาชนะให้เหมาะสม ถ้าเลือกไม่ถูก หรือที่ง่ายที่สุด คือการใช้ภาชนะสีขาว สีอ่อน ๆ
- การเลือกสีพื้น background ให้เหมาะสม ไม่ควรเลือกสีที่ดูหม่นหมองมอมแมม โดยพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ควรเลือกสีพื้นอ่อนสว่าง เช่น
สีขาว สีฟ้า สีเขียวอ่อน สีชมพู สีส้มอ่อน เป็นต้น สีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสะอาดตา ทำให้อาหารโดดเด่นน่ารับประทานและน่าสนใจขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะใช้สีเข้มขรึมไม่ได้ แต่ควรระมัดระวังในการเลือกใช้ ควรเลือกสีพื้นที่จับคู่ของอาหารและภาชนะได้อย่างเหมาะสม - การจัดวางอาหารลงภาชนะในการถ่ายภาพ เราไม่เทอาหารลงในจานหรือชามในทีเดียว ควรนำจานหรือภาชนะที่ต้องการใช้ในการถ่ายภาพวางในฉาก scene นั้น เพื่อทำการประกอบภาพตั้งกล้อง หรือ ประกอบมุมกล้อง จัดวาง composition วาง props ให้เรียบร้อยรวมถึงการจัดแสง หรือกำหนดทิศทางแสง (ในกรณีที่ใช้แสงธรรมชาติ) ให้เรียบร้อยพร้อมถ่ายภาพก่อน เพราะถ้าทำอาหารมาวางเลยจะต้องเสียเวลาในการจัดมุมกล้อง วาง props จัดแสง อาหารก็จะไม่สดใหม่ ใบผักที่ใช้โรยหน้าอาจเหี่ยวเฉา ดูไม่น่ารับประทาน
- การจัดวางอาหารมีหลายรูปแบบ ถ้าผู้จัดไม่ได้เป็น chef ทำอาหารที่ผ่านหลักสูตรการทำอาหารจากสถาบันต่างๆ มาก่อน ก็ต้องทำการเรียนรู้วิธีการต่างๆ เพื่อจัดวางอาหารให้ดูสวยงามเสียก่อน การจัดวางอาหารลงบนภาชนะไม่ว่าจะเป็นจาน ชามหรือภาชนะใดๆ ก็ตามไม่จำเป็นว่าจะต้องรับประทานได้เสมอไป
- ย้อนกลับไปเรื่องของการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ เรื่องของแสงมีสองอย่าง คือ แสงที่เราจัดด้วยไฟแฟลชในสตูดิโอ และแสงธรรมชาติ การใช้แสงธรรมชาติเลือกทิศทางที่กึ่งย้อนแสงเล็กน้อยอาจให้ตำแหน่งของแสงอยู่เฉียงทางซ้าย หรือทางขวาประมาณ 45-60 องศาของผู้ถ่าย แล้ววัดแสงในส่วนที่อยู่ในเงา Shadow ให้พอดี ไม่ต้องห่วงว่าส่วนที่ถูกแสงจะโอเวอร์ ให้ห่วงสาระสำคัญของภาพ
- ข้อควรระวัง ไม่ควรวัดแสงของ Highlight และให้แสงใน Shadow เท่ากัน เพราะทิศทางของแสงจะหมดความหมายไป ภาพที่ได้มันจะแบนไม่สวยงาม
- การใช้แสงไฟแฟลชในสตูดิโอเหมาะสมกับงานถ่ายภาพเมนูอาหาร หรือภาพโฆษณา เพราะต้องใช้เวลามากในการถ่ายภาพ และถ้าใช้แสงธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแต่ละช่วงเวลาแสงจะไม่เหมือนกันจึงต้องใช้ไฟแฟลชช่วย แต่การจดแสงด้วยไฟแฟลชนั้น จะต้องมีทักษะความรู้ในการใช้งานไฟแฟลชในสตูดิโอพอสมควร
- การเพิ่มแสงในเงามืดเราจะใช้ไฟเพิ่มอีกแต่ในทิศตรงกันข้าม กับไฟหลัก เพื่อลดความเข้มของเงามืดที่ทอดลงที่พื้นหรือ เพิ่มความสว่างของอาหารในเงามืดให้มีรายละเอียดมากขึ้น แต่ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำหนักของแสงไม่ให้เท่ากับแสงหลัก เพราะภาพที่ได้จะแบนเช่นกัน อาจใช้แผ่นสะท้อนแสง เช่น โฟมขาว กระจกเงาแผ่นเล็กๆ เพื่อช่วยทำให้แสงในเงามืดสว่างขึ้นได้เช่นกัน
- การเลือกรูรับแสง หรือการกำหนดความลึกระยะชัด Deep of Field ที่ผมนิยมใช้ก็อยู่ประมาณ f 5.6-f 8 สำหรับกล้องเล็ก DSLR หรือ f11.5 -16 สำหรับกล้อง Medium Format เพราะถ้าใช้หน้ากล้องแคบมากๆ ทำให้มีความลึกระยะชัดมากขึ้นจริงแต่คุณภาพของความคมชัดจะด้อยลงและอาจทำให้เกิดความรู้สึกแข็งกระด้าง
- เราควรมีวัตถุดิบ ที่เป็นของสดสำหรับใช้โรยหน้าอาหารอยู่ใกล้ๆ เช่น ใบผักชี ใบสะระแหน่ แช่น้ำเย็นใส่ถ้วยเอาไว้ใกล้ๆ เพราะผักเหล่านี้ค่อนข้างจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ
ที่มา : klongdigital