เทคนิคการใช้แฟลช Flash

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแฟลช  แฟลชหรือแสงอาทิตย์เทียม ที่สามารถทำให้เราถ่ายภาพได้ในทุกที่และทุกเวลา ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึง แฟลชแค่สามระบบ คือ

  1. แฟลชในระบบแมนนวล (Manual) เป็นแฟลชในระบบดั้งเดิมเริ่มต้น ซึ่งถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงยืนยงและมีประโยชน์อยู่ในตัวหลายอย่าง และไม่น่าเชื่อในยุคดิจิตอลผมมองว่าแฟลชระบบแมนนวลกลับใช้งานได้ดีกว่าในสมัยฟิล์มอย่างไม่น่าเชื่อ (ส่วนนึงมาจากการเห็นผลหลังการถ่ายได้ทันที) ผลกระทบต่อการพัฒนากล้องมีส่วน กับระบบ TTL มากกว่าที่ต้องคอยพัฒนาแฟลชรุ่นใหม่ ให้ใช้งานกับกล้องรุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่เหมือนสมัยฟิล์มที่แฟลชในรุ่นสูงสามารถใช้ได้กับกล้องเกือบทุกรุ่นไม่ว่าเก่า หรือใหม่ และแฟลชรุ่นนึงก็อยู่ในท้องตลาดเป็นเวลาหลายปี ไม่ต้องเปลี่ยนรุ่นเร็วเหมือนแฟลชสมัยดิจิตอล
  2. แฟลชระบบออโต้ Auto เป็นแฟลชรุ่นที่พัฒนาต่อมาจากแฟลชระบบแมนนวล โดยแฟลชระบบออโต้มีเซลไวแสง หรือเซนเซอร์ติดไว้เพื่ออ่านค่าแสงที่สะท้อนกลับมาจากวัตถุที่แสงแฟลชได้ไปกระทบถูก และเซนเซอร์ก็จะทำการตัดแสงแฟลชให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้นักถ่ายภาพใช้แฟลชได้สะดวกขึ้น  แต่ก็ยังต้องคอยระวังในเรื่องของอุปกรณ์เสริมที่มีการเสียแสงคล้ายๆ แฟลชในระบบแมนนวล แต่สมัยนี้หาแฟลชระบบออโต้ไม่ค่อยมีแล้ว
  3. แฟลชระบบ TTL ( Through the lens )  เป็นแฟลชที่ถูกพัฒนาต่อมา และเป็นต้นแบบของแฟลชในยุคดิจิตอลนี้เกือบทุกตัว เพียงแต่จะใส่ระบบที่เพิ่มมากขึ้น เช่นการคำนวณตามระยะทางจากข้อมูลของเลนส์ หรือตามจุดโฟกัส แต่พื้นฐานก็มาจากแฟลชระบบ TTL

ในสมัยเริ่มแรกนั่นคือการนำเซนเซอร์มาวางไว้ที่ตัวกล้องเลย แทนที่จะวางไว้ในตัวแฟลชเหมือนระบบออโต้

  • ข้อดี คือ เราสามารถจะใช้แฟลชได้ทุกช่องรับแสงโดยมีข้อแม้ว่ากำลังไฟของแฟลชต้องฉายไปถึง ไม่ต้องคอยมานั่งคำนวณ จะใช้อุปกรณ์เสริมอะไรก็ไม่ต้องคอยชดเชยช่องรับแสงให้
  • ข้อเสีย คือต้องคอยคำนวณค่าสะท้อนของสีบางประเภทให้กับกล้องด้วย เช่นสีขาวและสีดำ อีกข้อก็คงเป็นเรื่องการใช้พลังงานที่ค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นการยิงแฟลชไปกลับทำให้บางครั้งต้องคอยเวลาในการปะจุไฟที่ค่อนข้างนาน ถ้าวัตถุที่จะถ่ายอยู่ในระยะไกล


การเบ๊านซ์แฟลช  Bounce Flash
การเบ๊านซ์แฟลชเราสามารถใช้ได้กับแฟลชภายนอกเท่านั้น โดยส่วนมากนิยมใช้เบ๊านซ์กับเพดานลงมา โดยการยิงแฟลชขึ้นไปด้านบนเพดานแล้วให้สะท้อนไปที่แบบ หรือวัตถุที่เราต้อง การถ่าย แฟลชในระบบ TTL จะได้เปรียบแฟลชในระบบแมนนวลอยู่บ้าง เนื่องจากไม่ต้องมาคอยคำนวณระยะทาง แต่ในยุคดิจิตอลก็ไม่ได้เดือดร้อนเท่าไหร่ เพราะเราสามารถเห็นผลทันทีหลังการถ่ายอยู่แล้ว แต่ให้ระวังเรื่องสีของเพดานสักนิดนะครับ เพราะว่าถ้าเพดานไม่เป็นสีขาวอาจทำ ให้วัตถุที่เราจะถ่ายนั้นมีสีผิดเพี๊ยนไปได้ และก็ถ้าเพดานสูงเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องเบ๊านซ์มันเสียกำลังไฟแฟลชเกินไป หรือไม่บางท่านก็จะนำแผ่นสะท้อนแสงมาวางด้านข้างแบบแล้วหันหัวแฟลชไปให้ สะท้อนกลับมาสู่แบบเพื่อสร้างมิติให้กับภาพ

การใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาติ  ( Fill in Flash )
การใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาตินี้ เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแขนงนึงที่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพราะว่ามันมีประโยชน์มากมาย เราจะได้รู้ว่าแฟลชไม่ได้มีไว้ใช้ในเวลากลางคืนเท่านั้น แต่แฟลชสามารถตอบสนองการใช้งานของเราได้ในทุกที่และทุกเวลา เคยสังเกตไหมครับ ว่าทำไมช่างภาพงานรับปริญญาส่วนใหญ่ถึงต้องติดแฟลชเอาไว้ ที่กล้องเพราะว่าเค้าต้องเอาแสงแฟลชมาลบเงาดำใต้ตา จมูก ปากเพื่อให้ภาพมีความเคลียร์มากที่สุด เราเรียกว่าการใช้แฟลชแบบนี้ว่าการลบเงานั่นเอง ส่วนการใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาติ นี้จะเป็นอีกหนึ่งบทของการใช้แฟลช ที่จะช่วยให้เราถ่ายภาพในสถานการณ์และสภาพแสงต่างๆให้ได้ดั่งใจ

ระบบแฟลชสัมพันธ์ม่านชัตเตอร์ชุดที่สอง
มันมีความสำคัญยังไง อย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรกแล้วว่า ม่านชัตเตอร์จะทำงานเป็นสองชุดคือชุดแรกและชุดหลัง แต่แฟลชนั้นทำงานด้วยการฉายแสงในช่วงสั้นๆ ซึ่งทำให้มีผลกระทบกับภาพในบางลักษณะ จึงจำเป็นต้องมีระบบแฟลชสัมพันธ์ม่านชัตเตอร์ชุดที่สอง โดยส่วนใหญ่จะเห็นผลในการใช้กับภาพเคลื่อนไหว และสปีดชัตเตอร์ที่ค่อนข้างช้า นั่นหมายถึง แสงแฟลชจะถูกยิงออกไปหลังจากที่ม่านชัตเตอร์ชุดแรกได้เคลื่อนตัวผ่านเซนเซอร์ หรือฟิล์มไปแล้ว โดยจะฉายแสงออกไปพร้อมๆ กับม่านชัตเตอร์ชุดที่สองแทน ซึ่งเราต้องเข้าไปปรับตั้งในเมนูของระบบแฟลชเอง ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า Rear ส่วนผลที่ได้ คือ เงาที่ตกทาบไปทางด้านหลังของการเคลื่อนที่ทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหวสมจริง เพราะไม่เช่นนั้นเงาของภาพจะไปตกทาบอยู่ทางด้านหน้าแทน ทำให้ดูเหมือนภาพกำลังถอยหลัง

ที่มา  :  klongdigital / doartdee

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.