การถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)

การถ่ายภาพระยะใกล้เป็นการถ่ายภาพวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็ก หรือเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วนของวัตถุในระยะใกล้ให้มองเห็นส่วนละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายภาพเหรียญ แมลง ลายไม้ ดอกไม้ หรือวัตถุสิ่งของที่มีขนาดเล็กต่าง ๆ

การถ่ายภาพระยะใกล้ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้

  1. กล้องถ่ายภาพ นิยมใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ซึ่งจะไม่เกิดความเหลื่อมขณะมองภาพที่ช่องเล็งภาพ
  2. เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์แมโคร (Macro) แต่ถ้าสีเลนส์มาตรฐานก็สามารถใช้เลนส์ถ่ายใกล้ (Close – uplens) ชนิดสวมใส่หน้าเลนส์แบบ แผ่นกรองแสง (Filter) ทั่วไป หรืออาจใช้กระบอกต่อ (Extension tube) หรือใช้ส่วนพับยืด (Bellow) ต่อคั่นระหว่างเลนส์กับ
    ตัวกล้อง
  3. ขาตั้งกล้อง
  4. สายไกชัตเตอร์

การปรับหาระยะความคมชัดของการถ่ายภาพแบบนี้ค่อนข้างยาก เพราะเลนส์มีช่วงความชัดสั้นมาก ระยะหน้าและระยะหลังของวัตถุจะพร่ามัว
ดังนั้น ควรจะปิดรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ภาพที่ได้มีความชัดลึก

การถ่ายภาพดอกไม้
ภาพดอกไม้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะ รูปทรง รูปร่าง และสีสันที่สวยงาม สามารถเน้นให้เห็นลวดลายของกลีบดอกตลอดจนแนวเส้นของกิ่งก้านช่วยให้ภาพมีความงดงาม โดยเฉพาะการถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้จะให้สีตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ป่าหรือดอกไม้ที่ปลูกไว้ตามบ้านเรือนเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดอกไม้ ควรเป็นเวลาเช้าเพราะดอกไม้จะให้ความรู้สึกสดชื่น หากมีหยดน้ำค้างเกาะอยู่ตามกลีบดอกหรือหาน้ำหวาน หรือน้ำผึ้งหยอดลงบนดอกไม้เพื่อล่อให้ผึ้ง หรือแมลงมาตอมก็จะได้ภาพที่สวยงามเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพดอกไม้ควรเป็นแสงธรรมชาติโดยจัดให้แสงเข้าทางด้านข้าง ถ้าเป็นดอกไม้ชนิดที่ควรเน้นให้เห็นลักษณะความบางและโครงสร้างของกลีบดอกควรให้แสงส่องจากด้านหลังของดอกไม้และจัดให้พื้นหลังมีสีค่อนข้างเข้ม และต้องระวังอย่าให้แสงทวนเข้าที่หน้าเลนส์ของกล้องการถ่ายภาพดอกไม้ ควรต้องใช้ขาตั้งกล่าวเพื่อช่วยในการปรับประยะความคมชัดที่แน่นอน พยายามจัดมุมกล้อง เพื่อหลีกเลี่ยงฉากหลังที่รกรุงรัง หรือแก้ไขโดยใช้กระดาษสีเทาหรือสีดำไปวางไว้ทางด้านหลังของดอกไม้ โดยใช้สีของกระดาษให้ตัดกับสีของดอกไม้ เพื่อความเด่นชัดหรืออาจใช้วิธีเปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อจะได้ฉากหลังที่พร่ามัว อาจใช้เลนส์ถ่ายไกล หรือเลนส์ซูมก็จะช่วยให้ได้ภาพดอกไม้ที่มีลักษณะเด่นชัดเฉพาะสวยงามอีกแบบหนึ่ง

ที่มา  :  สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ / rmutphysics

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.