จากสภาพที่ตั้งภูมิศาสตร์หรือในดินแดนของประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์ กลางในการติดต่อสัมพันธ์ หรือค้าขายจากซีกโลกตะวันตกกับตะวันออกมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะขบวนคาราวาน พ่อค้าวาณิชย์ทั้งบนบกและในทะเล พวกเขาไม่ได้นำเอาสินค้าหลากหลายมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเท่านั้น
หากแต่เป็นที่มาของการผสมผสานและเชื่อมโยงของศิลปวัฒนธรรมมาทุกยุคทุกสมัยรวม ทั้งการนำ”ลูกปัด “มาใช้อย่างแพร่หลาย ตลอดจนพบหลักฐานในบางพื้นที่ว่า เป็นแหล่งผลิตลูกปัดด้วยซ้ำไป และเป็นภาพสะท้อนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่สามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มชนต่างๆทุกภาคทั่วประเทศ ที่มีร่องรอยการขุดค้นและพบลูกปัดโบราณ เครื่องใช้ไม้สอยของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
โดย เฉพาะอย่างยิ่งทะเลทองสองฝั่งทะเลไทย ทั้งที่เป็นย่านฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นจุดยุทธศาสตร์มาเป็นเวลาช้านาน มหาอำนาจทางเศรษฐกิจจากโลกอดีตของตะวันตก ยาตราเรือพร้อมผู้คน เพื่อแสวงหาโอกาสทางการค้า การขยายอำนาจในดินแดนเอเซียที่มั่งคั่งไม่แท้ดินแดนแถบไหนในโลก
สำหรับ ในวาระโอกาสสำคัญ ที่ถึงช่วงครบรอบ 150 ปี ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไทยในปี 2552นี้ ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตจัดเสวนา เรื่อง ลูกปัดโบราณย่านอันดามันขึ้น ในวันที่ 9 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น. ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง สี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ตำบล ศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ยังจะมีการจัดนิทรรศการลูกปัดภายในห้องนิทรรศการหมุนเวียนต่อ เนื่อง ไปจนถึงวันที่ 9 ตุลาคมด้วย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลูกปัดให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญ และร่วมสร้างจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมเผยแพร่ความรู้การผลิตลูกปัดใหม่ให้พัฒนาเหมาะกับสภาพ การณ์ปัจจุบัน อันจะเป็นสาเหตุของการหยุดยั้งการแสวงหาลูกปัดโบราณต่อไป