รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ พอใจผลการฝึกซ้อมอพยพสึนามิภูเก็ต

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดให้มีการซ้อมใหญ่ระบบเตือนภัย และการอพยพหลบภัยสึนามิเต็มรูปแบบ ในพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน คือ ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล ซึ่งได้มีการจำลองสถานการณ์การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ บริเวณทะเลอันดามัน คาดว่ามีโอกาสเกิดสึนามิ โดยทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ปล่อยสัญญาณแจ้งเตือนภัยสึนามิไปยังหอ เตือนภัย 6 จังหวัด ทั้งหมด 79 หอ ในเวลา 10.45 น.

โดยการฝึกซ้อมแผนดังกล่าวในส่วนของจังหวัดภูเก็ต ได้กำหนดดำเนินการฝึกซ้อมแผนอพยพในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งระบบเตือนภัยสาธารณะ(หอเตือนภัย) พร้อมกันทั้ง 19 หอในพื้นที่ 12 ท้องถิ่น 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองภูเก็ต ณ ปลายแหลมสะพานหิน ต.ตลาดใหญ่ อ่าวยน ต.วิชิต หาดกะตะ หาดกะรน หาดกะตะน้อย ต.กะรน หาดราไวย์ หาดในหาน เกาะราชาใหญ่ เกาะโหลน ต.ราไวย์ อ่าวฉลอง ต.ฉลอง และแหลมตุ๊กแก ต.รัษฎา ในพื้นที่อำเภอถลาง ณ หาดในยาง ต.สาคู หาดบางเทา-เลพัง ต.เชิงทะเล หาดไม้ขาว ต.ไม้ขาว และอ่าวปอ ต.ป่าคลอก และในพื้นที่อำเภอกะทู้ ณ หาดกมลา ต.กมลา และหาดป่าตอง ต.ป่าตอง

อย่างไรก็ตามการฝึกซ้อมแผนฯ ในครั้งนี้ ได้ใช้พื้นที่หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เป็นพื้นที่หลักในการฝึกซ้อมฯ และถ่ายทอดแพร่ภาพการฝึกซ้อมไปทั่วประเทศ โดยเมื่อเวลา 10.30 น.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมฯ ณ บริเวณปากซอยบางลา หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต มีนางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายการัณย์  ศุภกิจวิเลขการ ผู้ ว่าราชการจังหวัดชุมพร นางไทศิกา ไพรสงบ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต นายปิยะ ภะรตะศิลปิน ปลัดจังหวัดภูเก็ต พล.ต.ต.พิกัด ตันติพงศ์ ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.อ.กฤษศักดิ์ สงมูลนาค ผกก.สภ.กะทู้ นายเปี่ยน กี่สิ้น รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองป่าตอง นายชัยรัตน์ สุขบาล รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองป่าตอง  ข้าราชการในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กระทรวง ไอซีที ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี และมีนักเรียน นักศึกษา ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมจำนวนกว่า 2 พันคน ร่วมฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ

สำหรับ การฝึกซ้อมระบบเตือนภัยฯ ดังกล่าว ที่ผ่านมาศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ทั้ง 6 จังหวัด ชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้จัดให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยฯ เป็นประจำทุกปี  ในช่วงระยะเวลาประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งการซ้อมในครั้งนี้เป็นการนำข้อผิดพลาดจากการซ้อมครั้งที่ผ่านๆ มา มาปรับแผนการซ้อมให้เกิดความสมบูรณ์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเมื่อเกิดภัยสึนามิขึ้น อันเป็นการสร้างความมั่นใจต่อประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยทั้ง 79 จุด รวมถึงระบบวัดคลื่นสึนามิแบบทุ่นลอย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว

นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยฯ เสร็จสิ้นลงว่า การดำเนินการฝึกซ้อมในวันนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร และประชาชน รวมทั้งนักท่องเที่ยวด้วยได้พร้อมใจกันทำการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง ซึ่งดูสมจริงมาก อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าการซ้อมในครั้งนี้ทำให้ประชาชน ได้ตื่นตัว แล้วก็มีความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง

ต่อคำถามที่ว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยฯ ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งที่ผ่านมาการเกิดแผ่นดินไหวนอกจากเกิดขึ้นในช่วงกลางวันแล้วนั้น ยังเกิดขึ้นในช่วงกลางเวลาคืนด้วย ซึ่งนายสุเทพ กล่าวว่า ในส่วนนี้คงต้องดูตามสถานการณ์ว่า เราควรที่จะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยฯ ในช่วงเวลากลางคืนหรือไม่

ทางด้านนายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การฝึกซ้อมในครั้งนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พร้อมเพรียง ความรวดเร็วของหน่วยบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ได้เข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์จริงๆ ขึ้น คงจะไม่มีเวลาตั้งตัวเตรียมพร้อมในลักษณะอย่างนี้ อย่างไรก็ตามความพร้อมเพรียงร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่าย ทั้งพี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยว เชื่อว่าภาพที่เผยแพร่ออกไปจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว หรือพี่น้องประชาชนชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย “จะ นำผลการฝึกซ้อมจากการบันทึกเทป ก

Related Post