Phuket ICT Innovation Paradise เบิกทางภูเก็ตสู่เวทีโลก

นางสุวิภา  วรรณสาธพ  ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค ในฐานะประธานเอเชียโอเชียเนียซอฟต์แวร์พาร์คอัลไลแอนซ์ เปิดเผยว่า ทางซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทยร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA และองค์กรพันธมิตรต่างๆ จัดงาน The Asia  Oceania Regional Software Park Forum 2009  ที่ จังหวัดภูเก็ต วันที่ 8-10 ตุลาคม 2552 โดยจะเป็นการประชุมสัมมนานานาชาติขององค์กรสนับสนุนธุรกิจซอฟต์แวร์ ทั้งภาครัฐเละเอกชนระดับภูมิภาค ที่บริหารโดยเอเชียโอเชียเนียซอฟต์แวร์พาร์คอัลไลแอนซ์ โดยคาดหมายผู้เข้าร่วมงานครั้งนี้กว่า 300 คน จากผู้บริหารระดับสูงของซอฟต์แวร์พาร์ค หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ นักลงทุน ที่ปรึกษา รวมถึงคณะผู้แทนการค้าจากนานาชาติกว่า 10 ประเทศ กว่า 100 คน

การประชุมสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการนัดพบของคนซอฟต์แวร์ระหว่างประเทศครั้ง ใหญ่ ซึ่งจะกลายเป็นจุดสนใจของธุรกิจซอฟต์แวร์ในภูมิภาคนี้ ในการที่จะมาใช้โครงสร้างพื้นฐานของภูเก็ตและศักยภาพของประเทศไทยเพื่อ ต่อยอดในการทำธุรกิจ โดยมีหน่วยงานองค์กรช่วยเหลือที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ เข้ามาเททรัพยากรเพื่อสนับสนุน นอกจากนั้นยังมีการดึงส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักลงทุน และอื่นๆ เพิ่มเข้ามาเพื่อต่อจิ๊กซอว์ของธุรกิจนี้ให้ครบถ้วน

“งานนี้เป็นการเปิดตัวศักยภาพของไทยและภูเก็ตทางด้านซอฟต์แวร์ในระดับภูมิภาค  และ การที่ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต เป็นองค์กรอิสระ และยังเป็นสมาชิกของเอเชียโอเชียเนียซอฟต์แวร์พาร์คอัลไลแอนซ์โดยตรง ทำให้ระดับการเชื่อมต่อในระดับภูมิภาคของภูเก็ตสามารถต่อตรงได้ด้วยตนเอง  ไม่เกิดคอขวด  สร้างโอกาส  และเสริมแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ของภูเก็ตอย่างเต็มที่” นางสุวิภากล่าว

โดยกิจกรรมภายในงาน  แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ  การจัดสัมมนาวิชาการ การการแสดงนิทรรศการ  การกิจกรรมการเจรจาธุรกิจ และTechnology Site Visit   เพื่อนำคณะผู้เข้าร่วมงาน   เข้าเยี่ยมชมโครงการใหม่ของซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต จากสถิติของต่างประเทศพบว่าจำนวนของ IT Architect อยู่ในสัดส่วน 1 % ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แต่จากการสำรวจจากการจัดกิจกรรม IT Architect ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวนประมาณ 0.2% ซึ่งถือว่าน้อยมาก และกลุ่มคนนี้มีเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์พาร์คได้ตั้งพันธกิจที่จะเป็นหน่วยงานในการกระตุ้นให้เกิดการสร้าง นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับสูง ประเภทวิศวกรหรือสถาปนิกทางด้านซอฟต์แวร์ หรือ World-Class Hi-End IT Workforce ให้เกิดในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการรับงานขนาดใหญ่ อันเป็นผลต่อเนื่องจากกลยุทธ์ Global Reach โดยนอกจากจะสร้างศักยภาพในการรับงานทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังสามารถเพิ่มรายได้ และสร้างความต่อเนื่องในสายอาชีพอีกด้วย

ดังนั้นซอฟต์แวร์พาร์คและ IASA ประเทศไทย จึงมีแผนในการสร้าง IASA Certified IT Architect จำนวน 100 คน ภายใน 3 ปี  โดยงาน ITARC (IT Architect Regional Conference) ถือเป็นงานสัมมนาวิชาการประจำปีด้าน IT Architect ที่ ทางชมรมจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ชมรมฯ ตั้งเป้าหมายให้มีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 200 คน จากทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์และไอที  ผู้บริหารงานไอทีในองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ สถาปนิกซอฟต์แวร์ และผู้ที่อยู่ในสายงานไอที  รวมถึงบุคลากรจากภาคการศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

ส่วนรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานนั้น จะเป็นการประชุมสัมมนาวิชาการ และการปาฐกถาพิเศษ โดยหัวข้อสัมมนาภายในงานจะครอบคลุมเนื้อหาของ IT Architect 4 ด้าน คือ ด้าน Enterprise Architecture ด้าน Software Architectu ด้านFundamentalsofArchitecture และ ด้าน Business Aspects รวมทั้งสิ้นมากกว่า 19 หัวข้อการบรรยาย และมีส่วนแสดงนิทรรศการเสริมเข้ามา

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ได้รับแรงบันดาลใจ และมีความตั้งใจที่จะเป็น IT Architect อย่างจริงจังเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30% และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชมรม IASA อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเท่าตัว รวมถึงสร้างฐานสมาชิกด้าน IT Architect ให้เกิดขึ้นทั่วภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูเก็ต” นายเฉลิมพลกล่าว

นอกจากนั้นสิ่งที่จะได้ตามมาจากงานนี้คือ การกระตุ้นให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ฯ เร่งพัฒนาบุคลากรและยกระดับไปสู่บุคลากรซอฟต์แวร์และไอทีระดับสูง เพื่อแสดงศักยภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยฯ และเป็นแรงจูงใจให้ต่างชาติขยายการลงทุนในประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนจากงานขนาดเล็กและเป็น Labor-intensive ไปสู่ High-Skilled intensive มากขึ้น ซึ่งมีมูลค่าของโครงการสูงกว่ามาก รวมถึงการประชาสัมพันธ์และแสดงศักยภาพ โครงการ Phuket ICT Innovation Paradise และสนับสนุนให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ICT ระดับโลก

ดร. สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดเผยว่า การจัดงาน The Asia Oceania Regional Software Park Forum 2009 และ IT Architect Regional Conference Thailand 2009 ที่ภูเก็ตในวันที่ 8-10 ตุลาคมนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งของไทยและภูมิภาค ทั้งสองงานมีความโดดเด่นและเกื้อหนุนกัน  โดยงาน Asia Oceania Regional Software Park Forum เป็น การรวมกลุ่มครั้งใหญ่ที่สุดในภายในปีนี้ของเครือข่ายซอฟต์แวร์ในภูมิภาค ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ การประชุมเชิงวิชาการ การจับคู่ทางธุรกิจ การเยี่ยมชมกิจการซอฟต์แวร์ในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงการประชุมของสมาชิกเพื่อกำหนดทิศทางขององค์กร Asia Oceania Regional Software Park Alliance ซึ่งปัจจุบันซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทยเป็นประธานอยู่ ส่วนงาน IT Architect Regional Conference Thailand เป็นงานสัมมนาทางวิชาการด้านซอฟต์แวร์ที่รวบรวมกูรูทางด้าน IT Architect ระดับ โลก ถือเป็นงานใหญ่ที่สุดในประเทศ ทั้ง 2 งานดังกล่าวคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมจากผู้บริหารระดับสูงทางด้านซอฟต์แวร์เข้า ร่วมกว่า 500 ราย

การจัดงานทั้งสองได้ผนวกรวมความโดดเด่นหลายจุดขึ้นมาพร้อมๆ กัน ประการแรก กลุ่มเป้าหมายทั้งสองงานสามารถเกื้อหนุนยุทธศาสตร์ Local Link Global Reach ของ ซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเตรียมการของทั้ง อุตสาหกรรมมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังความยั่งยืนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งระบบ และยุทธศาสตร์นี้จะไม่หยุดอยู่แค่ปีนี้ การดำเนินการจะเป็นการสร้างแผนควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์อื่นๆ กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของการทำงานต่อไป การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคแล้ว ยังเป็น Global Reach ที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงตลาดระดับโลกได้

ประการที่สอง การจัดงานทั้งสองในจังหวัดภูเก็ต โดยที่ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ตเป็นเจ้าภาพร่วมของงาน ถือเป็นการเพิ่มปุ๋ยเร่งโตชนิดพิเศษให้กับซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต จากการที่เป็นองค์กรเริ่มก่อตั้ง กลายมาเป็นองค์กรที่เป็นที่จับตาของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลกโดยทันที ซึ่งนอกจากโอกาสทางด้านการตลาดแล้ว ยังมีโอกาสทางด้านการลงทุนหลั่งไหลเข้ามาในงานนี้อีกด้วย โดยเสริมโอกาสสร้างฐานการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจไป พร้อมๆกัน

ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ SIPA เปิดเผยว่า โครงการ The Asia Oceania Regional Software Park Forum 2009 และ IT Architect Regional Conference Thailand 2009 ที่จัดที่ภูเก็ตครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งแผนที่จะทำให้เป้าหมาย National Flagship Project เพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านซอฟต์แวร์ของโลก โดยเฉพาะทางด้านการวิจัยและพัฒนาบรรลุผล ที่ผ่านมา SIPA ได้เข้าร่วมกับทั้ง 2 โครงการมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นและเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นเมื่อ SIPA มีนโยบายการร่วมโครงการกับหน่วยงานพันธมิตรขึ้นในปีนี้ SIPA จึง ไม่รีรอที่เข้ามาเซ็นสัญญาสนับสนุนโครงการทั้งสองกับทางซอฟต์แวร์พาร์ค ซึ่งนอกจากจะทำให้เป้าหมายของซอฟต์แวร์พาร์คสำเร็จผลแล้ว ทาง SIPA ก็สามารถผลักดันยุทธศาสตร์การสร้างภูเก็ตเป็น R&D ทางด้านซอฟต์แวร์ของโลกไปด้วย

นอกจากการส่งเสริมโดยหน่วยงานระดับนโยบายกลางแล้ว หน้าที่หลักของ SIPA ก็คือ การมุ่งสร้างองค์กรท้องถิ่น โดยเฉพาะด้านธุรกิจซอฟต์แวร์ ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนในจังหวัดภูเก็ตให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในจังหวัดของตนเองอย่างมั่นคง ซึ่งงานนี้จะเห็นภาพชัดเจนคือ หน่วยงานท้องถิ่นอย่างซิป้าภูเก็ต และหน่วยงานเอกชนอย่างซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ต และภาคเอกชนอื่นๆ เป็นตัวหลักในการดำเนินงาน ถือเป็น Showcase และเป็นแนวทางสำหรับพื้นที่ซึ่งเป็น National Flagship Project ของ SIPA ต่อไป

ในการประชุมและสัมมนาครั้งนี้ SIPA เองมุ่งหวังในการสร้างเครือข่ายระดับภูมิภาคให้เข้มแข็ง และมุ่งหวังให้เครือข่ายได้กลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้ SIPA เข้า มาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย สามารถไปตั้งฐานในภูมิภาคนี้อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานในระยะยาว หาใช่การทำตลาดแบบฉาบฉวย

นอกเหนือจากโครงการทางด้านกิจกรรมสัมมนาที่จะเร่งภูเก็ตให้เติบโตในธุรกิจซอฟต์แวร์แล้ว ยังมีอีกหลายโครงการที่ SIPA ได้ เข้าไปเร่งสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นโครงการสนับสนุนศูนย์บ่มเพาะให้มีการเชื่อม โยงระหว่างกัน และได้สนับสนุนงบประมาณลงไปอย่างเต็มที่ ทำให้เราจะเห็นบริษัทซอฟต์แวร์เกิดใหม่ที่มีแนวความคิดดีๆ เกิดขึ้นในจำนวนมาก ถือเป็นการรองรับและเป็นพื้นฐานเพื่อดึงดูดความสนใจของต่างชาติมาสู่ภูเก็ต มากขึ้น นอกจากนั้น SIPA ยังขอความร่วมมือจาก JFCCT เพื่อ ทำการสำรวจศักยภาพของภูเก็ต และนำเสนอรายงานนี้ไปยังทั่วโลก ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและสร้างโอกาสให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภูเก็ต อย่างมาก

Share:

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.