นาย ธเนต ธนาวุฒิ นักวิชาการ สำนักงานพลังงานจังหวัดภูเก็ตกล่าวถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่รับผิดชอบโครงการจัดทำแผนพลังงานชุมชน 300 ชุมชนว่า องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว สาคูและป่าคลอก รวมทั้งเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลางได้ดำเนินโครงการถึงกระบวนการคัดเลือกเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่ เหมาะสม เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับปีงบประมาณ 2552 และเทคโนโลยีพลังงาน ทดแทนที่เหมาะสมที่ได้รับการเลือกจากชุมชน โดยได้รับงบประมาณแห่งละ 70,000 บาท
ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาวจัดทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากมูลวัวขนาด ใหญ่ติดตั้งประจำมัสยิด เพื่อรองรับในการประกอบอาหารในเดือนรอมฎอนและลดการใช้ก๊าซหุงต้ม เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา จำเป็นจะต้องใช้ก๊าซหุงต้มขนาด 15 กิโลกรัมมากถึง 25 ถัง ในราคาถังละ 300 กว่าบาท นอกจากนี้ ยังจัดสร้างเตา 2 กระทะ 1 เตาด้วย และในอนาคต จะผลักดันให้เป็นจุดเรียนรู้ส่วนหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต และจะสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องในขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคลอก เลือกทำเตาย่างไก่ เตาเผาขยะ 35 กิโลกรัม เตาเผาถ่าน 200 ลิตร และเตาชีวมวล ขนาดกลาง
สำหรับเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี เลือกทำ เตาเผาถ่าน เตาเผาข้าวหลาม เตา 2 กระทะ หลอดประหยัดไฟ ที 5 เตาย่างไก่ ตู้ อบพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องอัดถ่านและองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู ทำเตาซุปเปอร์อั้งโล่ เตา 2 กระทะ เตาเผาถ่านและเตาเผาขยะ 15 กิโลกรัม
นักวิชาการ สำนักงานพลังงานจังหวัดภูเก็ตกล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ มีการส่งมอบเทคโนโลยีพลังงานทดแทนบางส่วน รวมทั้งอุปกรณ์บางรายการ ต้องส่งไปผลิตนอกพื้นที่และไม่เกินเดือนกันยายนนี้ จะแล้วเสร็จทุกโครงการและมีการเชื่อมโยงแผนพลังงานกับแผนพลังงานชุมชน 300 ชุมชน เพื่อให้เป็นแผน 3 ปี เรียบร้อยแล้ว
อย่าง ไรก็ดี ในกรณีที่นางรังสี พันธุมจินดา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขต 7 ห่วงใยเรื่องเตาประเภทต่างๆ มีควันและจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ขอชี้แจงว่าสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่ให้ประชาชน นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านการตรวจสอบจากนักวิชาการและมีการศึกษาวิจัยรองรับ เช่นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ การเผาไหม้ สมบูรณ์ ทำให้มีควันน้อยและที่สำคัญ ในช่วงที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมโครง การในปี2551คือองค์การบริหารส่วนตำบลกมลา เทพกระษัตรีและศรีสุนทรเมื่อประชา ชนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสามารถลดปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มได้ร้อยละ20-ร้อยละ 30