จ.ภูเก็ตใช้วิสัยทัศน์เดิม เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 27 ส.ค. 52 ที่ห้องประชุมศาลากลางหลังใหม่ นายวิชัย  ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) โดยมีนายวรพจน์  รัฐสีมา  นายสมิทธิ์  ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

สำหรับวาระการประชุมที่สำคัญ เป็นการพิจารณาแผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2553-2556 ซึ่งได้มีการสรุปเวทีประชาคมประชุมเชิงปฏิบัติการการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด ภูเก็ต ปี พ.ศ. 2553 – 2556 ไปเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ในส่วนของวิสัยทัศน์ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเดิม คือ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมและมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วนพันธกิจ จากเดิมที่มีเพียง 7 ข้อ ให้ปรับปรุงข้อที่ 8  เป็นส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และ ให้เพิ่มเติมข้อ 9 และ ข้อ 10 เป็น ข้อ 9 ส่งเสริม อนุรักษ์ด้านประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์วัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ ข้อ 10 ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก   ส่วนของเป้าประสงค์รวมของแผน ปรับปรุงจากเดิมทั้งหมด ด้านตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย  ก็ยังคงยึดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเดิมเป็นส่วนใหญ่  หัว ข้อที่ปรับปรุง อาทิ ระดับความสำเร็จการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากเดิมร้อยละ 80 /ปี ก็ลดลงเป็น ร้อยละ 70 ต่อปี ส่วนระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐจากเดิม ร้อยละ 70 เพิ่มเป็นร้อยละ 80 /ปี เป็นต้น  และในประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ข้อ ก็ยังคงใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ตเดิมเช่นกัน

นอกจากนี้ ในส่วนของการระดมความคิดเห็นในลักษณะของเวทีประชาคม การทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ปี พ.ศ. 2553 – 2556 ซึ่งได้ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา มีการสรุปผลการวิเคราะห์คุณภาพแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดภาคใต้ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน  (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) ว่ายังคงขาดการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อชี้ให้เห็นศักยภาพ ปัญหา เพื่อนำไปสู่การกำหนด SWOT และวิสัยทัศน์ของแผน ตลอดจนการกำหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย ไม่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ และโครงการส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโครงการจังหวัดและมีความซ้ำซ้อนของโครงการ  และ ในส่วนของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง) พบว่า ส่วนใหญ่ขาดการวิคราะห์ข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน (SWOT) เป้าประสงค์และพันธกิจ  รวมถึงขาดกำหนดเป้าประสงค์รวม   แผน งาน/โครงการส่วนใหญ่เป็นการรวมกิจกรรมที่ดำเนินการในระดับจังหวัด ลักษณะโครงการยังไม่เป็นโครงการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดที่สามารถขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.