เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 28 สิงหาคม 2552 นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เรียนเชิญ 3 ผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต ดร.หรรษา จรรย์แสง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.เยาวนิจ กิติธรกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และ ดร.นลินี ทองแถม นักวิชาการประมง ชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัย และพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ข้าราชการเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการเจ้าของโครงการที่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และบริษัทที่ปรึกษา ร่วมรับทราบนโยบาย เรื่องการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ หรือ IEE และ EIA ว่า ตามที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ได้ประกาศให้จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการได้กำหนดให้การทำกิจกรรมบางประเภทจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของจังหวัดภูเก็ตให้มี ความยั่งยืนต่อไป นั้น
จังหวัด ภูเก็ตได้รับเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการพิจารณารายงานฯ ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เบื้องต้น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต ว่า การพิจารณารายงานฯ บางโครงการไม่มีความโปร่งใสไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ แนวทางการพิจารณารายงานให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยตรง จังหวัดภูเก็ตจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นใหม่ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม จากสถานศึกษาที่เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยเหลือการกลั่นกรองงานการพิจารณารายงานฯ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง บนพื้นฐานหลักวิชาการอย่างรวดเร็ว รอบคอบ โปร่งใส เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และระเบียบกฎหมายที่กำหนด
จังหวัด ภูเก็ตเห็นว่า สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ และถือเป็นมาตรการที่จะปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่จะต้องร่วมกันรักษาไว้ ให้คงอยู่คู่จังหวัดภูเก็ต การพิจารณาอนุมัติ อนุญาตใดๆ ที่จะมีผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียหายจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยมีความรู้เฉพาะด้านเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็น ซึ่งเป็นบุคคลกลางไม่มีส่วนได้ส่วนได้เสียใด ๆ เป็นคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นก่อนเสมอ คณะกรรมการชำนาญการซึ่งมีผู้ว่าฯ เป็นประธานพิจารณาอนุมัติ อนุญาต โดยกำหนดให้เสนอให้มีการประชุมอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อมิให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน และขอเรียนให้ทราบว่าหากมีบุคคลใดติดต่อเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบหรือมี การวิ่งเต้นเพื่อให้การพิจารณารายงานผ่านความเห็นชอบโดยไม่ถูกต้องตาม ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ขออย่าได้หลงเชื่อและแจ้งให้จังหวัดภูเก็ตทราบทันที จังหวัดภูเก็ตจะดำเนินการกับบุคคลดังกล่าวทั้งทางวินัยและหรืออาญาทุกรายไป และจะถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ จังหวัดภูเก็ตอย่างแท้จริง
“เนื่อง จากว่าผมมาทำหน้าที่ผู้ว่าฯ ที่ภูเก็ตได้ประมาณ 4-5 เดือนแล้ว ก็พบเห็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย ซึ่งทางทฤษฎีต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผ่าน IEE หรือ EIA ไป ผลสุดท้ายแล้วบริษัทก็ไม่ได้ปฏิบัติการตามนั้นเลย เพราะฉะนั้นในการประกาศเจตนารมณ์ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ไม่มีอะไร มีแต่เพียงทำกระดาษสองสามเล่ม แล้วก็อนุญาตให้ไป ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผมนั้นไม่ใช้ผู้ชำนาญการจริง เป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งไม่ได้ชำนาญ ผมจึงได้คิดว่าไปขอร้องท่านที่มีความรู้ มีประสบการณ์ แล้วก็ทำหน้าที่เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความเห็นว่าถ้าเกิดกรณีอย่างนี้ควรจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้มันฉาวโฉ่อย่างทุกวันนี้ ซึ่งยังมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ว่าให้อำนาจ แล้วไม่ทำหน้าที่ตนไม่เห็นด้วย ให้อำนาจแล้วต้องทำหน้าที่ด้วย เมื่อรับชอบแล้วต้องรับผิดด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องมาทำความเข้าใจ หลายคนบอกว่าผู้ว่าฯ ไม่ให้ผ่าน นั่นไม่ใช่เรื่องว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน อยู่ที่ว่าผ่านแล้วเสียหายหรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะมีไว้ทำไม ถ้าอย่างนั้นท่านต้องแก้กฎหมายแล้วอย่าให้ขึ้นกับจังหวัดให้ขึ้นกับกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปเลย จัดทำ EIA เวลาโดนด่าน ท่านก็โดนไป แต่ถ้าว่าผ่านผมๆ ขอร้องว่าเจตนารมณ์ของจังหวัดภูเก็ตเราซึ่งผมก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน เพราะได้รับแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ก็เลยไม่ชำนาญจริง ก็ตั้งผู้ชำนาญจริงขึ้นมา เขาก็คงจะเป็นกลางแล้วก็มีจิตวิญญาณ ก็ได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการด้วยว่าไม่ได้หน่วงเหนี่ยวแน่นอน จะรวดเร็ว แล้วก็อาทิตย์หน้าจะประชุมกัน ซึ่งตอนนี้มีโครงการอยู่ระหว่างการพิจารณา 39 โครงการ” นายวิชัย กล่าว
นายวิชัย กล่าวคาดโทษในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาการจัดทำรายงานฯ IEE และ EIA ด้วย ว่า จะต้องใช้วิชาชีพและจรรยาบรรณในการจัดทำรายงานประเภทเสนอรายงาน ประเภทเสนอรายงานเป็นเท็จ ปกปิดข้อมูล ไม่ศึกษาวิเคราะห์และหาข้อมูลอย่างจริงจัง หากเกิดผลเสียหายและตรวจ จะแจ้งให้ยุดใบอนุญาตและไม่ให้เข้าทำรายงานฯ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ในส่วนของคณะกรรมการฯ ถ้าโครงการไหนมาแบบมีเงื่อนไข ห้ามอนุมัติให้อย่างเด็ดขาด
ด้าน ดร.หรรษา กล่าวว่า ตามที่ท่านผู้ว่าฯ ชี้แจง เป็นความร่วมมือว่าการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นรายงานที่มี คุณภาพ ไม่ใช่สักแต่ว่าผ่าน แล้วก็คณะกรรมการฯ มีหน้าที่กลั่นกรองจริงๆ แล้วก็อนุมัติ อย่างที่ท่านผู้ว่าฯ บอก ต้องอนุมัติแบบไม่มีเงื่อนไข คือที่ผ่านมามีการอนุมัติแบบมีเงื่อนไข และที่เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างของเราคืออนุมัติไปแล้วไม่มีคนติดตาม ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่จะทุกท่านจะต้องมาร่วมหาวิธีแก้ไขต่อไป ว่า อนุมัติไปแล้วเขาทำตามนี้หรือเปล่า ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องดู
“การที่ท่านผู้ว่าฯ เรียกประชุม คุยกับที่ปรึกษา ทำความเข้าใจ ซึ่งเน้นเรื่องคุณภาพของ EIA ซึ่ง ท่านผู้ว่าฯ ก็ตั้งคณะกรรมการฯ ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาช่วยดูให้ ก็นับว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่ในอดีตก็มีมาแล้วกรรมการกลั่นกรอง เขาก็มีเพียงแต่อาจจะไม่ได้ดึงผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามาก แต่ในชุดใหญ่มันมีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจากแนวนโยบายของท่านผู้ว่าฯ คิดว่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน่าจะดีขึ้นถ้าหากผู้ประกอบการและบริษัทที่ ปรึกษา เวลาทำงานอะไรสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยไม่ใช่ว่า ยังไงก็ขอให้รับอนุมัติอย่างเดียว” ดร.หรรษา กล่าว