เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552 นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ปี พ.ศ.2553-2556 ในการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ มีผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชนจาก 5 จังหวัดอันดามัน ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง เข้าร่วมในพิธี ที่ห้องจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
นายพีรบูรณ์ ทองศิริเศรษฐ์ หัวหน้าสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า ด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ษ.2551 กำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทำแผนพัฒนาที่มีระยะเวลา 4 ปี ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กำหนด โดยการจัดทำแผยพัฒนา คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ต้องคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด รวมตลอดถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน และยุทธศาสตร์ระดับชาติ โดยอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของวิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์ และเพื่อให้ทราบถึงความต้องการและศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ ให้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัดตามวิธีการที่ ก.จ.น.กำหนด และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาแล้วให้ ก.บ.ก.จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด
โดยการจัดทำแผนพัฒนา พ.ศ.2553-2556 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ตามอำนาจหน้าที่ ก.บ.ก.จึงได้จัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ตามนโยบาย ขั้นตอนและวิธีการที่ ก.น.จ.กำหนด ซึ่งผ่านความเห็นชอบของมติคณะรัฐมนตรี และกลุ่มจังหวัดได้จัดทำเป็นคำขอจัดตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โครงการ วงเงินงบประมาณ 158,480,020 บาท ซึ่งในขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบการจัดสรรกรอบวงเงินงบประมาณดังกล่าวแล้ว
นายพีรบูรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดทำแผนพัฒนา พ.ศ.2553-2556 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มตังหวัดแบบบูรณาการ(ก.น.จ.) เสนอ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทบทวนแผนพัมนาก่อนที่จะเริ่มต้นจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ ก.น.จ.กำหนด เพื่อปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณ์ โดยได้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการนโยบาบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (อ.ก.น.จ.) ด้านแผนและด้านงบประมาณ ทั้ง 5 คณะ และปฏิทินการทบทวนแผน ไปเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงแผนให้มีคุณภาพและชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับการจัดทำแผนพัฒนา พ.ศ.2553-2556 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่ ก.น.จ.เสนอเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทบทวนแผนพัมนาก่อนที่จะเริ่มต้นจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 ตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่ ก.น.จ.กำหนด เพื่อปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณษ โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณทั้ง 5 คณะ และปฏกิทินการทบทวนแผน ไปเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงแผนให้มีคุณภาพและชัดเจนยิ่งขึ้น
ดังนั้นจังหวัดภูเก็ตในฐานะศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยความร่วมือกับทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัด จึงได้กำหนดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ปี พ.ศ.2553-2556 ในการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ ขึ้นในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีการสัมมนาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดในลักษณะประชาคม ได้มีการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและการยื่นคำของบประมาณ ได้ให้ความรู้และความเห็นในการจัดทำแผนที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงและครอบคลุมมิติในการพัฒนากลุ่มจังหวัด จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพ และชัดเจน ตามหลักเกณฑ์ แนวทางที่ ก.น.จ.กำหนด และจัดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกลุ่มจังหวัดต่อสาธารณชนรับทราบต่อไป
ขณะที่นายวิชัย ไพรสงบ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวตอนหนึ่งในขณะเป็นประธานเปิดการประชุม ในการทบทวนแผนโดยขอให้มองเป้าของประชาชน 5 จังหวัดเป็นภาพรวม เพื่อให้การใช้งบประมาณเป็นประโยชน์จริงๆ เชื่อมโยงกัน ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวอยู่ 5 จังหวัดอันดามันให้มากที่สุด และนานที่สุด ดังนั้นอยากให้การสัมมนาในครั้งนี้บูรณาการกันให้เข้าถึงวัตถุประสงค์จริงๆ วางแผนให้มีการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยง ทำอย่างไรไม่ให้เงินมากองอยู่ที่ใดที่หนึ่ง