พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เปิดนิทรรศการลูกปัดโบราณย่านอันดามัน

เมื่อเวลาประมาณ 09.09น.วันที่ 9 กันยายนนี้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง สี่แยกบ้านท่าเรือ อ. ถลาง จ. ภูเก็ต นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและเสวนา ลูกปัดโบราณย่านอันดามัน เนื่องในโครงการวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2552โดยเฉพาะในเดือนกันยายนที่เป็นเดือนของวันพิพิธภัณฑ์ไทย  พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติถลางร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตจัดเสวนาเรื่อง ลูกปัดโบราณย่านอันดามันขึ้นและมีการจัดนิทรรศการลูกปัดภายในห้องนิทรรศการ หมุนเวียน ไปจนถึงวันที่ 9 ตุลาคมนี้ โดยมีนักเรียน นักศึกษาและประชาชนในจังหวัดภูเก็ต พังงาน กระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานีสนใจ มาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ใน โอกาสเดียวกันนี้ นายวีระ ช่วยฤกษ์และครอบครัว มอบเศษชิ้นส่วนของแก้วและหินที่ใช้ทำลูกปัดโบราณ รวมทั้งลูกปัดสำเร็จรูปและ เศษภาชนะดินเผา ที่พบในพื้นที่บ้านท่าม่วง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้แก่นางสาวอัจจิมา หนูคง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลางเพื่อใช้จัดแสดงเป็นการถาวรต่อไป

สำหรับ การเสวนา ลูกปัดโบราณย่านอันดามันในวันนี้ ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต บรรยายเรื่อง”ลูกปัดโบราณย่านอันดามัน” นางเรวดี สกุลพาณิชย์ นิติกรเชี่ยวชาญ กรมศิลปากร บรรยายเรื่อง กฎหมายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ในขณะที่นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้ศึกษาและค้นคว้าเรื่องลูกปัดชื่อดัง บรรยายเกี่ยวกับความลับของลูกปัด และร่วมกับนายหรินทร์ สุขวัจน์ กรรมการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภูเก็ต ดำเนินการเสวนาเรื่องสถานการณ์ลูกปัด

พร้อมกันนี้รองศาสตราจารย์จินตนา เหล่าไพบูลย์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มาร่วมบรรยายการดำเนินงาน หลังจากที่ทางสภาวิจัยแห่งชาติสนับสนุนงบประมาณในปี 2549-2551 จัดทำโครงการวิจัยแบบบูรณาการ การพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชน โดยมีการศึกษา ใน 4 โครงการคือ การพัฒนาเตาต้นแบบสำหรับผลิตแท่งแก้วในระดับชุมชน การพัฒนาเนื้อแก้ว สำหรับงานศิลป์ โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่นอีสาน ตลอดจนการพัฒนากระบวนการรีไซเคิลขยะแก้ว เพื่อสร้างเป็นชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์ และการออกแบบและสร้างชิ้นงานหัตถกรรมแก้วศิลป์ เพื่อเป็นสินค้าสมาร์ทโอท็อป ส่วนร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ร่วมตอบข้อซักถามในระหว่างการเสวนาด้วย

นอกจากนี้ทางโรงเรียนบ้านภูเขาทอง ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง นำนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ”ลูกปัดทดแทน หวงแหนทรัพย์แผ่นดิน”มาร่วมสาธิตและจัดนิทรรศการผลงานที่ประสบความ สำเร็จในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างบ้าน ชุมชนและโรงเรียน ตลอดจน ลดปัญหาการลักลอบขุดค้นหาโบราณวัตถุและลูกปัดในพื้นที่ต่อไป ในขณะเดียวกัน ประชาชน สามารถสร้างรายได้เพิ่มพูนให้กับครอบครัว โดยเข้าร่วมผลิตลูกปัดทดแทนนี้ด้วย

ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์เปิดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2417  ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง มิวเซียมหลวง (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานให้แก่กิจการพิพิธภัณฑสถาน และทรงเรียกพิพิธภัณฑสถานว่า มิวเซียมหลวง) ณ หอคองคอเดีย  หรือศาลาหทัยสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เพื่อจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ และเปิดให้ประชาชนเข้าชมเนื่องในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา  21 พรรษา จึงถือเอาวันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย

Related Post

ร่วมแสดงความคิดเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.